สำหรับลูกค้าที่เพิ่งจะสนใจเรื่องการเคลือบแก้ว อย่างหนึ่งที่มักได้ยินบ่อยๆก็คือ เรื่องของตัว H ที่มีมักมีการระบุมาในเวลาที่เราจะไปทำ เคลือบแก้ว ซึ่งก็จะมีตั้งแต่ 6H , 7H และที่พูดถึงกันมากที่สุดในตอนนี้ก็คงจะเป็น 9H เรานี่เอง ซึ่งบางท่านก็อาจจะสงสัยว่า เจ้าตัวเลขที่ตามด้วยตัว H เนี่ยมันคืออะไร เดาว่าเป็นชื่อของน้ำยา สารเคมีที่อยู่ในขั้นตอนการเคลือบแก้วหรือเปล่า ทำไมต้องนำมาอ้างถึงเสมอ วันนี้มาดูคำตอบกันค่ะ
ตัว H ที่พูดถึงในการทำเคลือบแก้ว คืออะไร
ตัว H ที่เราเห็นอยู่ตามหลังตัวเลข เวลาพูดถึงเรื่อง เคลือบแก้ว แท้จริงแล้วเจ้า H ตัวนี้เป็นตัวย่อของคำว่า Hardness ซึ่งหมายถึงความแข็ง เพราะฉะนั้น การระบุตัวเลขด้านหน้า ไม่ว่าจะเป็น 6 – 9 นั่นก็คือการบอกระดับค่าของความแข็งนั่นเอง ดังนั้นยิ่งมีตัวเลขสูงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีค่าความแข็งของฟิล์มสูงขึ้นเท่านั้น และปัจจุบันค่าความแข็งสูงสุดของ น้ำยาเคลือบแก้ว ที่มีอยู่ก็คือ ระดับ 9H ค่ะ โดยอ้างอิงจากตารางค่าความแข็งของโมล์ (Moh’s Scale)
ความแข็งระดับ 9H ของการเคลือบแก้ว
ค่าความแข็งสูงสุดของการ เคลือบแก้ว ในปัจจุบันอยู่ที่ ระดับ 9 H ซึ่งการวัดค่าความแข็งเกิดขึ้นจากการทดสอบในห้องวิจัย วิธีการที่นิยมใช้ในการกำหนดค่าความแข็งก็คือ การนำเอาวัสดุ 2 ชนิดมากดเข้าหากัน วัตถุที่มีความแข็งน้อยกว่าก็จะถูกสิ่งที่มีความแข็งมากกว่าทำให้เกิดรอยเกิดขึ้นได้ ซึ่งส่วนประกอบของน้ำยาเคลือบแก้วนั้น จะมีส่วนประกอบของซิลิคอนคาร์ไบด์ ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนและอุณหภูมิสูง มีความแข็งตามตารางของโมล์อยู่ที่ระดับ 9-9.5 จึงนิยมใช้เป็นสารกึ่งตัวนำ วัสดุขัดถู วัตถุทนความร้อนสูงและแงกระแทกนั่นเอง
การทำ เคลือบแก้ว ที่ดีที่สุดปัจจุบันก็ย่อมจะต้องเป็นการทำในระดับ 9H เพราะมีความแข็งของชั้นฟิล์มมากที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องคำนึงถึงเรื่องของความหนาด้วย เพราะทั้งสองส่วนนั้นเสริมกันในเรื่องการปกป้องผิวของรถเคลือบแก้ว ทำให้สามารถป้องกันและลดโอกาสการสูญเสียความงามจากตัวรถที่คุณรักได้ ไม่ว่าจะเป็นริ้วรอย หรือแม้กระทั่งคราบต่างๆ และที่สำคัญทำให้การดูแลรถของท่านง่ายขึ้นโดยไม่ต้องไปเสียเวลาขัดสี เคลือบสีบ่อยๆค่ะ
VCR Professional Car Coating ศูนย์บริการเคลือบแก้ว ขัดสี เคลือบเงารถยนต์
เปิดบริการทุกวัน
จ-ศ: 8.00 – 21.00 น.
เสา-อา: 9.00 – 22.00 น.LINE : @vcrcarcoating
โทร 📲 : 087-828-9779
Website: https://www.vcrcarcoating.com
Pingback:ข้อดีและข้อเสียของเคลือบแก้วรถยนต์ – ศูนย์เคลือบแก้วรถยนต์ VCR
Pingback:ข้อดีและข้อเสียของเคลือบแก้วรถยนต์ – ศูนย์เคลือบแก้วรถยนต์ VCR